Sunday 7 August 2011

ผู้เสียหายในคดีอาญา

   ผู้เสียหาย  เป็นผู้ที่กฏหมายกำหนดให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทบทุกขั้นตอน 
การดำเนินคดีอาญานั้นผู้เสียหายนับว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุด เพราะจะเป็นบุคคลที่กฎหมายให้สิทธิหรือมีอำนาจในการดำเนินคดีแทบทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การริเริ่มดำเนินการร้องทุกข์ (มาตรา 2 (7) ประกอบมาตรา 123,124) การเป็นโจทก์ฟ้องคดี มาตรา 28(2) การเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ (มาตรา 30) ตลอดจนกระทั่งการใช้สิทธิที่จะระงับคดีด้วยการ ถอนคำร้องทุกข์ (มาตรา 126) ถอนฟ้อง (มาตรา 35) ยอมความ( มาตรา 39(2)) เป็นต้น                                                          (1)






กระบวนพิจารณาใดที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายเป็นผู้มีอำนาจกระทำ บุคคลซึ่งมิใช่ผู้เสียหาย ตามมาตรา 2(4) ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณานั้น
     เมื่อกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิหรืออำนาจ แกก่ผู้เสียหายในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆ ดังกล่าว บุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นผู้เสียหาย หรือ มิได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย ย่อมไม่อำนาจดำเนินกระบวนพิจารณานั้น อีกทั้งตามบทบัญญัติมาตรา 2(4) ได้นิยามคำว่าผู้เสียหายตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว                                                                                    (2)






มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้
(1) "ศาล" หมายความถึงศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจ ทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา
(2) "ผู้ต้องหา" หมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
(3) "จำเลย" หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดย ข้อหาว่าได้กระทำความผิด
(4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5  และ มาตรา 6
(5) "พนักงานอัยการ" หมายความถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้เป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงาน อื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
(6) "พนักงานสอบสวน" หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมาย ให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน 

             (7) "คำร้องทุกข์" หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อ เจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความ ผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนา จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
                                                                                                                    (3)



             
              จะมีข้อสังเกตุว่า คำร้องทุกข์ เป็นเงื่อนไขสำคัญแห่งอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนในคดีความผิดต่อส่วนตัวตามมาตา 121 วรรค 2 และ ตามมาตา 2(7) กำหนดให้ผู้เสียหายเท่านั้นที่มีสิทธิหรืออำนาจร้องทุกข์ ดำงนั้นหากผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ตามมาตรา 2(4) ย่อมทำให้คำร้องทุกข์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ และย่อม ส่งผลให้พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนตามมาตรา 121 ว2 การสอบสวนที่ได้กระทำไปถือว่าเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงถือว่าไม่มีการสอบสวน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อวตามมาครา 120                             (4)










              















กฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาที่กล่าวมาข้างตนได้แก่มาตรา


มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้

(7) "คำร้องทุกข์" หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อ เจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความ ผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนา จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ

มาตรา 120 ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดย มิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน


มาตรา 121 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ                                                        (5)
   






ผู้เสียหายตามมาตรา 2(4) ดังกล่าวได้กำหนดผู้เสียหายในคดีอาญาไว้ 2 ประการ


(1) ผู้เสียหายโดยตรง


(2)ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย   


 หลักเกณฑ์ของการเป็นผู้เสียหายโดยตรง


(1) ต้องมีการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งเกิดขึ้น
(2)ผู้เสียหายต้องเป็นบุคคล
(3)บุคคลนั้นต้องได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานนั้น
(4)บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย                                                                    (6)










ต้องมีการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งเกิดขึ้น


ขั้นตอนการกระทำความผิดอาญานั้น เริ่มตั้งแต่คิดที่จะกระทำ การตกลงใจที่จะกระทำ และการลงมือกระทำ สำหรับความผิกอาญาทั่วไป ความผิดอาญาเกิดเมื่อลงมือ กล่าวคือหากลงมือกระทำความผิดแล้วหากกระทำไปไม่ตลอด หรือ กระทำไปตลอดแต่ความผิดไม่สำเร็จ ก็จะเป็น พยายาม เป็นตั้น   (7)









ผู้เสียหายต้องเป็นบุคคล
                 
บุคคลที่จะเป็นผู้เสียหายในคดีอาญานั้นอาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลก็ได้  สำหรับบุคคลธรรมดานั้น ต้องมีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่มีการกระทำความผิดอาญาซึ่ง เริ่มสภาพบุคคลและ สิ้นสุดสภาพบุคคล ก็ต้องพิจารณาตาม ประมวลกฎหมาบเพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 ส่วนนิติบุคคลอาจเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 65   (8)









มาตรา 15   สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็น ทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
                   ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลัง คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก


มาตรา 65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น       (9)









บุคคลนั้นต้องได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานนั้น

การกระทำความผิดอาญานั้นการที่จะเป็นผู้เสียหายจะต้องได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานนั้นๆเท่านั้น จะเกิดจากความผิดอาญาฐานอื่นไม่ได้                 (10)











บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย


โดยหลักกฎหมายทั่วไปนั้น ผู้ที่จะมาขอพึ่งบารมีแห่งความยุติธรรมต้องมาด้วยมืออันบริสุทธิ์ ดังนั้นผู้เสียหายโดยนิตินัยคือ ต้องเป็นบุคคลที่สะอาดบริสุทธิ์ด้วยจึงจะมาขอความยุติธรรมจากศาลได้ ด้วยเหตุนี้แม้บุคคลใดจะต้องด้วยหลักเกณฑ์ 1-3 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว หากบุคคลนั้นไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ก็ไม่ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายเลย                                                                  (11)








คำพิพากษาฎีกาที่ไม่ถือว่า เป็นผู้เสียหาย                   (12)


พนักงาน อัยการ จังหวัด จันทบุรี
โจทก์


นาย ฉลอม ยุติธรรม
จำเลย




ป.อ. มาตรา 352


ป.วิ.อ. มาตรา 2(4), 120, 121






อ.เป็นพนักงานของธนาคารทำหน้าที่แทนธนาคารจ่ายเงินให้จำเลยไปเงินที่อ.จ่ายไปเป็นเงินของธนาคารไม่ใช่เงินของอ.ธนาคารจึงเป็นผู้เสียหายการที่อ.ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจ่ายเงินผิดพลาดไปและนำเงินส่วนตัวมาเข้าบัญชีที่จ่ายผิดไปเป็นความรับผิดชอบระหว่างอ.กับธนาคารหาทำให้อ.เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์แก่เจ้าพนักงานไม่การที่อ.ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีฐานยักยอกแก่จำเลยจึงไม่เป็นการร้องทุกข์มอบคดีโดยผู้เสียหายตามระเบียบพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.













โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ครอบครอง เงินสด 45,000 บาท ของ นาย อภิชัยไว้ โดย นาย อภิชัย ส่งมอบ ให้ โดย สำคัญ ผิด จำเลย ได้ เบียดบัง ยักยอกเอา เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป โดย ทุจริต ขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา เงินสด45,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย

จำเลย ให้การ ปฏิเสธ


ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรค 2 ให้ จำคุก กับ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน 45,000บาท แก่ ผู้เสียหาย


จำเลย อุทธรณ์


ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ ยกฟ้อง


โจทก์ ฎีกา


ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เช็ค เอกสาร หมาย จ.2 นาย ไสว เป็นผู้ สั่งจ่าย โดย สั่ง ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขา จันทบุรีจ่าย เงิน 45,000 บาท ให้ ผู้ถือ จำเลย เป็น ผู้ ทรงเช็ค ได้ นำ เช็คดังกล่าว มา ยื่น แก่ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยาฯ เพื่อ ให้ ใช้ เงิน ตามเช็ค นาย อภิชัย เป็น พนักงาน ของ ธนาคาร ทำ หน้าที่ แทน ธนาคารจ่าย เงิน 45,000 บาท ให้ จำเลย ไปแล้ว วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่าเงิน ที่ นาย อภิชัย จ่าย ไป เป็น เงิน ของ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยาฯไม่ ใช่ เงิน ของ นาย อภิชัย ดังนี้ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยาฯ จึง เป็นผู้เสียหาย การ ที่ นาย อภิชัย ปฏิบัติ หน้าที่ บกพร่อง จ่ายเงินผิดพลาด ไป และ นำ เงิน ส่วนตัว มา เข้า บัญชี ที่ จ่าย ผิด ไป ก็เป็น ความ รับผิด ชอบ อีก เรื่องหนึ่ง ระหว่าง นาย อภิชัย กับ ธนาคารไม่ ทำ ให้ นาย อภิชัย เป็น ผู้เสียหาย ที่ จะ มี อำนาจ ร้องทุกข์มอบ คดี แก่ เจ้าพนักงาน ได้ รวม บันทึก การ มอบ คดี ความผิด อันยอมความ กัน ได้ เอกสาร หมาย จ.1 เป็น เรื่อง ระหว่าง นาย อภิชัย ในฐานะ ส่วนตัว ร้องทุกข์ มอบ คดี ความผิด อัน ยอมความ กัน ได้ ให้พนักงาน สอบสวน ดำเนินคดี นี้ แก่ จำเลย จึง ไม่ เป็น การ ร้องทุกข์มอบ คดี โดย ผู้เสียหาย ตาม ระเบียบ พนักงาน สอบสวน ไม่ มี อำนาจสอบสวน โจทก์ จึง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง คดี นี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120, 121



คำพิพากษาฏีกาที่ถือว่าเป็นผู้เสียหาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2552ส. ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ประมูลแชร์ได้ จำเลยซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้รับเช็คตามฟ้องจากลูกวงแชร์ที่ยังประมูลไม่ได้ เพื่อนำไปมอบให้แก่ ส. แต่จำเลยมิได้นำไปมอบให้ ส. กลับนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินในบัญชีของตนเองและถอนเงินไป ดังนี้ จำเลยในฐานะนายวงแชร์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงการเล่นแชร์ว่า เมื่อจำเลยได้เช็คจากลูกวงแชร์แล้วจะต้องนำเช็คไปมอบให้ ส. ซึ่งประมูลแชร์ได้ การที่จำเลยรับเช็คตามฟ้องจึงเป็นการรับไว้แทน ส. เมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและถอนเงินออกจากบัญชี จึงเป็นการครอบครองเงินของ ส.แล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไป ส. จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานยักยอกเงินตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2552
โจทก์ ประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถแท็กซี่ มีเจ้าของรถแท็กซี่นำรถมาร่วมกิจการกับโจทก์โดยใช้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รถและมอบให้โจทก์นำรถแท็กซี่ออกให้เช่าซื้อ แต่สัญญาเช่าซื้อทำกันระหว่างเจ้าของรถแท็กซี่กับผู้เช่าซื้อ กำหนดชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายวัน ในการนี้ โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บค่าเช่าซื้อแทน จำเลยที่ 1 เก็บค่าเช่าซื้อไว้แล้วไม่ส่งให้โจทก์ เบียดบังเอาเงินค่าเช่าซื้อที่รับไว้แทนโจทก์ไปโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอก และแม้เงินดังกล่าวจะมิใช่ของโจทก์ แต่โจทก์ต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของรถหลังจากหักค่าใช้จ่ายของโจทก์ แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง




หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


มาตรา ๓๕๒ ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

มาตรา ๓๕๓ ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๕๔ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๕๒ หรือมาตรา ๓๕๓ ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๕๕ ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝังไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         (13)







Note


(1)     ธานิช เกศวพิทักษ์ คำอธิบายกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา   พิมพ์ครั้งที่ 8 สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง  2544

(2)     ธานิช เกศวพิทักษ์ คำอธิบายกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาระดับชั้นปริญญาตรี  พิมพ์ครั้งที่ 8 สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง 2544

(3) ดร.จิตฤดี วีระเวสส์  สรุปย่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักพิมพ์อภิโชติ 
(4)    เนติภัททิก์ เสฎฐิตานันท์  กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1-2

(5) ดร.จิตฤดี วีระเวสส์  สรุปย่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักพิมพ์อภิโชติ

(6)  จุลสิงห์ วสันตสิงห์    คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 (มาตรา 1-119) พร้อมตัวอย่างคำถาม-คำตอบ จนถึงปี พ.ศ2553  พิมพ์ โดย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ครั้งที่ 3 / ธันวาคม 2553 
(7)  ชัยเกษม นิติสิริ  พิมพ์ โดย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา  ครั้งที่ 4 / ม.ค. 2554
  
(8) ปริญญา จิตรการนทีกิจ  พิมพ์ ครั้งที่ 2 : เมษายน 2554 
  
(9) The Justice Group ผู้พิมพ์  ประมวลกฎหมายเพ่งแลพพาณิชย์ และ ประมวลกฎหมายอาญา พิมพ์ ปี 2552

(10)  ธานิช เกศวพิทักษ์ คำอธิบายกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา   พิมพ์ครั้งที่ 8 สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง  2544

(11)   เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์  พิมพ์  ครั้งที่ 7/2553

(12)  สมชัย ฑีฆาอุตมากร    พิมพ์    ครั้งที่ 1/ 2554

(13) ดร.จิตฤดี วีระเวสส์  สรุปย่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักพิมพ์อภิโชติ


Reference


(1)     ธานิช เกศวพิทักษ์ คำอธิบายกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา   พิมพ์ครั้งที่ 8 สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง  2544

(2)     ธานิช เกศวพิทักษ์ คำอธิบายกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาระดับชั้นปริญญาตรี  พิมพ์ครั้งที่ 8 สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง 2544

(3)  

(4)


(5) ดร.จิตฤดี วีระเวสส์  สรุปย่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักพิมพ์อภิโชติ
(6)   เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์  พิมพ์  ครั้งที่ 7/2553

(7)  จุลสิงห์ วสันตสิงห์    คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 (มาตรา 1-119) พร้อมตัวอย่างคำถาม-คำตอบ จนถึงปี พ.ศ2553  พิมพ์ โดย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ครั้งที่ 3 / ธันวาคม 2553












ID 5135158  section 1 
 
Name Sorrawit      S